โนราแขกเป็นการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้ ลักษณะของโนราแขกเป็นการแสดง ซึ่งมีการขับบทร้องโต้ตอบระหว่างพ่อโนรากับนางโนรา ลำดับการแสดงเริ่มจากดนตรีโหมโรง การว่าบทเทศครู การแต่งตัวแล้วว่าบทร่ายแตระ การร้องโต้ตอบ หลังจากนั้นเป็นการแสดงเรื่องจากวรรณคดีไทยประเภทจักรๆวงศ์ๆ ปัจจุบันโนราแขกมักแสดงในงานแก้บนและงานไหว้ครูโนรา
สิ่งที่ปรากฎอยู่ในการแสดงโนราแขกของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาสนั้น จะมีเอกลักษณ์และรูปแบบการแสดงเป็นของตนเองโดยเฉพาะ โนราแขกปรับเปลี่ยนการแสดงมาจากโนราของชาวไทยพุทธ และการแสดงมะโย่งของชาวไทยมุสลิม ซึ่งมีการรำร้อง และแสดงเป็นเรื่อง แสดงประกอบพิธีกรรมและแสดงเพื่อความบันเทิง ผู้แสดงที่สำคัญ คือ พ่อโนรา นางรำ และพราน จะนำเอกลักษณ์ของโนราและมะโย่งในเรื่องของการร่ายรำการแต่งกาย และการขับร้อง – ดนตรี มาใช้แสดงร่วมกัน คือพ่อโนราแต่งกายแบบโนราขับร้องเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามลายูถิ่น นางรำชาวไทยมุสลิมแต่งกายแบบพื้นเมือง ขับร้องเจรจาจะเป็นภาษามลายูถิ่น ร่ายรำแบบโนราและมะโย่ง พรานขับร้องเจรจาเป็นภาษาไทยและภาษามลายูถิ่น ผู้ชมชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมจะดูโนราแขกร่วมกันด้วยความสนุกสนานและเข้าใจในศิลปะการแสดง
โนราแขกมีบทบาทในสังคมภาคใต้ ๗ ประการ ดังนี้
๑. เป็นเครื่องนันทนาการของชาวบ้าน
๒. เป็นสื่อในการติดต่อกับวิญญาณสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ
๓. เป็นสื่อมวลชนชาวบ้าน
๔. เป็นสิ่งสืบสานสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
๕. เป็นการพัฒนาคุณภาพประชากร
๖. เป็นการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ
๗. เป็นการรักษาความมั่นคงของชาติ
โนราแขกมีบทบาทในสังคมภาคใต้ ๗ ประการ ดังนี้
๑. เป็นเครื่องนันทนาการของชาวบ้าน
๒. เป็นสื่อในการติดต่อกับวิญญาณสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ
๓. เป็นสื่อมวลชนชาวบ้าน
๔. เป็นสิ่งสืบสานสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
๕. เป็นการพัฒนาคุณภาพประชากร
๖. เป็นการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ
๗. เป็นการรักษาความมั่นคงของชาติ
การแสดงโนราแขกยังปรากฎการแสดงอยู่เฉพาะจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี ความสนใจในการแสดงโนราแขกเริ่มลดลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น